ดันผลตอบแทน
FUND

บลจ.วรรณ แนะกระจายลงทุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผ่านกองทุน ONE-APACESG

บลจ.วรรณ มองเศรษฐกิจภูมิภาค เอเชียแปซิฟิค ยังเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนโดดเด่นกว่าหุ้นโลก แนะกระจายลงทุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รวมญี่ปุ่น ด้วยกองทุน ONE-APACESG มั่นใจ แนวทางธุรกิจเชิง ESG เป็น Megatrend ของโลก

นายพจน์ หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มชะลอการเติบโตลงจากภาคการผลิตที่ยังอ่อนแอ ปัญหาในภาคธนาคาร และเงินเฟ้อที่มีความหนืด แม้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้วตามการอ่อนตัวของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ

แต่ธนาคารกลางส่วนมากยังไม่วางใจต่อการปรับตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ กอปรกับประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นอีกประเด็นที่กดดันบรรยากาศการลงทุน อาทิ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลยังมีแนวโน้มต่อเนื่องในปี 2023 ทั้งในประเทศพัฒนา (นำโดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่น) และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (นำโดย บราซิล อินเดีย และจีน) เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ คาดการณ์ทิศทางเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่ชะลอตัว และอยู่ในระดับที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางไม่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ประเทศในกลุ่ม เอเชียแปซิฟิค สามารถผ่อนคลายนโยบายการเงิน ทั้งในจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย

หนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องในปีนี้ โดยเฉพาะในฝั่งของจีน ซึ่งคาดว่าจะมีมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมจากภาครัฐ หลังเศรษฐกิจค่อนข้างอ่อนแอกว่าคาดในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มีการคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS growth) มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นกว่าหุ้นโลกในภาพรวม อยู่ที่ราว 0.9% ในปี 2023 และ 17.5% ในปี 2024 ขณะที่ Valuation ยังค่อนข้าง laggard เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นโลก โดยมองเป็นปัจจัยหนุน upside หุ้น Asia Pacific ในระยะข้างหน้า

ดังนั้น บลจ.วรรณ แนะนำกระจายการลงทุนในกองทุนภายใต้การบริหาร ได้แก่ กองทุนเปิด วรรณ เอเชียแปซิฟิก ESG (ONE-APACESG) เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund ผ่านกองทุนหลัก BNP Paribas Green Tiger Fund กระจายการลงทุนในหุ้น Asia Pacific รวมถึงญี่ปุ่น

โดยกองทุน ONE-APACESG เน้นหุ้น Asia Pacific ที่เน้นพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นของเศรษฐกิจภูมิภาคนี้ในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของธุรกิจยุคใหม่ทำให้ ESG เป็นอีก Megatrend ของโลก

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ สำหรับสัดส่วนการลงทุนของ ONE-APACESG ในปัจจุบัน มีการกระจายในจีน 23.27%, ญี่ปุ่น 21.68%, ไต้หวัน 19.26%, อินเดีย 12.03%, ออสเตรเลีย 10.29%

โดยกองทุนยังกระจายการลงทุนไปในประเทศเกาหลีใต้ 6.67% และฮ่องกง 4.60ด้วยเช่นกัน ขณะที่อุตสาหกรรม อันดับแรก ได้แก่ Information technology ประมาณ 35.59%, Industrials 29.99%, Consumer discretionary 17.11%, Consumer staples 5.29% และ Health care 3.36%

นายพจน์ กล่าวเสริมว่า การลงทุนในบริษัทที่เน้น ESG สามารถสร้างการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการลงทุนยุคใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืน มากกว่าการเติบโตเชิงตัวเลขเพียงอย่างเดียว

อีกทั้งยังเป็นปัจจัยที่หนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและน่าสนใจในแง่มุมของ fund flow ของนักลงทุนสถาบันให้ไหลเข้าในหุ้นกลุ่ม ESG อย่างต่อเนื่อง

ยักษ์ลงทุน

ใส่ความเห็น