เอชเอสบีซี
FINANCE

ธนาคารเอชเอสบีซี เผยบทวิจัยการเลือกตั้งในประเทศไทย “นายกฯ คนใหม่ กับโอกาสใหม่ในการใช้จ่าย”

ฝ่ายวิจัยของ ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC Global Research) ออกบทวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในประเทศไทยภายใต้หัวข้อ “นายกฯคนใหม่ กับโอกาสใหม่ในการใช้จ่าย” ระบุรัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มกระตุ้นการใช้จ่ายในครึ่งแรกของปี 2567 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎการเลือกนายกรัฐมนตรี

ด้านอัตราดอกเบี้ยคาดว่าความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการคลัง อาจทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนชันขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เงินบาทไทยมีการตอบสนองเชิงบวกต่อความไม่แน่นอนที่ลดระดับลง แม้ว่าจะยังคงมีความเสี่ยงรูปแบบอื่นๆ ในการฟื้นตัว

สามเดือนหลังการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม รัฐสภาได้เลือกนายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐบาลชุดใหม่นี้มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีก พรรค ได้แก่ ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ และรวมไทยสร้างชาติ

ด้านเศรษฐกิจเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงต้น

มร. อาริส ดาคาเนย์ นักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารเอชเอสบีซี เผย เราประเมินการขาดดุลทางการคลังในปีงบประมาณ 2567 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.4 ของจีดีพี (จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.1) และลดการคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 ลงเหลือร้อยละ 2.2 ของจีดีพี ซึ่งเดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.8 

โดยที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาในช่วงหาเสียง ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินดิจิทัลมูลค่า 10,000 บาท และเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 จากการเปลี่ยนกติกาในการเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าว

เราจึงคาดว่ารัฐบาลชุดที่กำลังจะเข้ามาบริหารจะเร่งผลักดันนโยบายที่เสนอไว้และกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 (Front-loaded spending) ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้จ่ายของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

แต่ความเสี่ยงที่อาจตามมาคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะกลับมาใช้นโยบายแบบเข้มงวดอีกครั้งหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่านักลงทุนจะมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังรอจับตาดูสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567 ก่อน

·การตั้งงบประมาณ สามารถทำได้หลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่จะยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณไปจนกว่าจะถึงช่วงต้นของปีงบประมาณ 2567 (ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคม 2566) 

ด้วยเวลาที่จำกัดและรัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องเสนองบประมาณให้รัฐสภาพิจารณา ดังนั้นเราจึงคาดว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลจะยังคงลดลงในไตรมาส ของปี 2566 ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตมีการชะลอตัวลงอีก จากเดิมที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อยู่แล้ว โดยในไตรมาส ของปี 2566 เติบโตเพียงร้อยละ 1.8 เท่านั้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

·แม้อาจจะมีความล่าช้าอยู่บ้าง แต่เราก็คาดว่าจะมีการกำหนดงบประมาณแบบขยายตัว ในช่วงฤดูหาเสียง ทุกพรรคการเมืองเสนอนโยบายแจกเงินสดและเงินอุดหนุนในลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งมีมูลค่าสูงจนสร้างความวิตกกังวลว่า จะกระทบกับเสถียรภาพทางการคลังและนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อสำหรับพรรคเพื่อไทยนั้น

แคมเปญหลักที่ให้สัญญาไว้คือ แจกเงินดิจิทัลให้กับคนไทยทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งมีมูลค่าประมาณร้อยละ 3.1 ของจีดีพี และยังมีนโยบายอื่นๆ อีก เช่น เพิ่มรายได้ของเกษตรกร เท่าและประกันรายได้ครัวเรือน 20,000 บาทต่อเดือน

·จากคำมั่นสัญญาเหล่านี้ เราคาดว่าการขาดดุลทางการคลังในปีงบประมาณ 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของจีดีพี (จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้อยละ 4.1) หรือ 8.4 แสนล้านบาท 

ก่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดที่แล้วได้จัดสรรงบประมาณเอาไว้ที่ 3.35 ล้านล้านบาท โดยคาดการณ์การขาดดุลที่ แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.0 ของจีดีพี การเพิ่มขึ้นของการขาดดุลที่ร้อยละ 4.4 มาจากค่าใช้จ่ายในการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทที่เพิ่มเข้ามา

โดยเราคาดการณ์ว่าเพื่อให้จัดสรรงบประมาณได้อย่างเพียงพอ อาจจะมียกเลิกนโยบายสวัสดิการอื่นๆ เช่น เงินอุดหนุนรายเดือนสำหรับผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300 บาท เบี้ยผู้สูงอายุรายเดือน และเงินอุดหนุนน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์นี้เป็นการประเมินให้ต่ำเอาไว้ก่อน เนื่องจากยังคงไม่มีความแน่นอนในด้านนโยบายสำหรับสวัสดิการที่ดำเนินอยู่แล้ว

·เรายังมองว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลจะกระจุกตัวอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน 

เหตุผลหลักที่ทำให้คาดการณ์เช่นนั้นเป็นเพราะว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่วุฒิสภาจะไม่มีอำนาจในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี

โดยอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้นจะอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งในสภาล่างนี้ พรรคก้าวไกลที่เป็นฝ่ายค้านเป็นพรรคที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุด ดังนั้นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย อาจจะต้องเลือกดำเนินนโยบายต่างๆ ที่สัญญาไว้ในขณะหาเสียงก่อนถึงวันที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรัฐบาล

·อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อความต้องการนำเข้า เราจึงปรับการคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 ของเราลงมาเหลือร้อยละ 2.2 ของจีดีพี (จากเดิมร้อยละ 2.8) และคงคาดการณ์สำหรับปี 2566 ไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 2.0

·การติดตามดูอัตราเงินเฟ้อถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการกระตุ้นเศรฐกิจครั้งใหญ่แล้ว พรรคเพื่อไทยยังเสนอให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจากปัจจุบันที่ 340 บาท เป็น 600 บาทต่อวันให้สำเร็จภายในปี 2570 

เราคาดว่าในไตรมาส ของปี 2567 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หากอัตราเงินเฟ้อมีการเร่งตัวเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้อันเป็นผลมาจากนโยบายการคลังแบบขยายตัว

และการขึ้นค่าแรง ก็มีความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงินอีกครั้ง ส่งผลให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps เป็นร้อยละ 2.50 แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน เราคาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 จนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อย

ด้านอัตราดอกเบี้ยการเสริมมาตรการกระตุ้นทางการเงินการคลัง

การผลักดันมาตรการทางการเงินการคลังของรัฐบาลชุดใหม่อาจส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการออกตราสารหนี้ แต่ในขณะนี้ยังคงยากที่จะคาดเดาอย่างแน่ชัด เรายังคงคิดว่าเป็นเรื่องดีที่เส้นอัตราผลตอบแทนสวอป (Swap Curve) ของไทยชันขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเงินและการใช้จ่ายของรัฐบาลอาจจะสะท้อนให้เห็นในตลาดสวอปได้เร็วกว่าตลาดตราสารหนี้

โดย Forward Swap Curve ในขณะนี้สะท้อนมุมมองว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 30 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps เป็นร้อยละ 2.5 ภายในสิ้นปี 2566 อย่างไรก็ตาม ธนาคารเอชเอสบีซีคาดว่าในสถานการณ์ปกติ ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 จนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อย” มร. อาริส ดาคาเนย์ กล่าวต่อ

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเดินหน้าต่อไป แม้อาจมีอุปสรรคให้ต้องฝ่าฟัน

มร. อาริส ดาคาเนย์ เปิดเผยอีกว่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียในช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทย (THB) อยู่ในระดับที่ดีกว่า เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนเริ่มคลี่คลายลงหลังการเลือกตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์พื้นฐานของเรา ที่เชื่อว่าเงินบาทจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน USD-THB ได้แสดงให้เห็นแนวโน้มทั้งในแบบที่สูงกว่าเป้าหมาย (Overshoot) และต่ำกว่าเป้าหมาย (Undershoot) เมื่อเทียบกับดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเฉลี่ยของคู่สกุลเงิน USD และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบอุปสรรคในการฟื้นตัวของค่าเงินบาท เมื่อพิจารณาจากความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนติดลบ การเติบโตที่ซบเซา และการพึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีน

ปัจจัยที่สนับสนุนให้เงินบาทฟื้นตัวหลังจากการเลือกตั้ง มีดังต่อไปนี้

1. นักลงทุนต่างชาติอาจกลับมาลงทุนอีกครั้งหลังความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจลดลง ตัวอย่างเช่น ในช่วงเลือกตั้งปี 2562 มีเงินลงทุนประมาณ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไหลเข้ามาภายในระยะเวลา เดือนหลังจากที่ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ไหลออกไปในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านั้น

2. เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกับที่กระแสเงินทุนไหลออกจะชะลอตัวลง 

สำหรับประเด็นหลัง เป็นที่น่าสังเกตว่าประชาชนในประเทศมีการซื้อหุ้นต่างประเทศเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2564 เป็นผลมาจากผลตอบแทนหุ้นไทยที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส จนถึงปัจจุบัน ดัชนี SET มีการปรับตัวขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ในขณะที่ดัชนี FTSE World มีการปรับลดลงประมาณร้อยละ

3. โอกาสที่จะเกิดการประท้วงในประเทศมีน้อยลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทน่าจะได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ 

แม้จะเป็นช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวของไทยมักจะคึกคัก แต่ดุลการค้าจากการท่องเที่ยวของไทยกลับไม่ได้เกินดุลแบบน่าประทับใจมากนักในไตรมาสแรกของปี 2566 (5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของไตรมาสแรกในปี 2562)

อันเป็นผลมาจากคนไทยออกเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น (ร้อยละ 85 ของไตรมาสแรกในปี 2562) และมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย (ร้อยละ 60 ของไตรมาสแรกในปี 2562 ในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยว และเพียงร้อยละ 50 ของไตรมาสแรกในปี 2562 ในแง่ของรายได้)

แต่ข่าวดีก็คือ ช่องว่างดังกล่าวกำลังลดลง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ และขยับขึ้นมาเป็นร้อยละ 75 ของเดือนกรกฎาคม 2562 อันที่จริงแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาล มีการคาดการณ์ว่าบัญชีดุลสะพัดจะพลิกเปลี่ยนจากที่ขาดดุล 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 

มาเป็นเกินดุล 6-7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 (หากมีนักท่องเที่ยว 28-29 ล้านคน) ซึ่งคาดว่าการฟื้นตัวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี (ในครึ่งแรกของปี 2566 เกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักท่องเที่ยว 13 ล้านคน) และทีมวิจัยทางเศรษฐกิจของธนาคารเอชเอสบีซีเชื่อว่าน่าจะมีแนวโน้มที่สูงกว่านั้นอีก โดยคาดว่าจะเกินดุล 1.1 หมื่นล้าน

ใส่ความเห็น