FUND

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ขอนำส่งบทความ Capital Market Snapshot เรื่อง “Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN” 

เสถียรภาพของธุรกิจธนาคารนั้นเป็นหนึ่งปัจจัยที่บ่งชี้ความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจระดับประเทศ การที่ธนาคารมีหนี้สูญมากขึ้นนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธนาคาร โดยปกติแล้วธนาคารจะมีการสำรอง “หนี้สงสัยจะสูญ”

เพื่อให้รองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หากมีการสำรองดังกล่าวมากเกินไปนั้น ในมุมหนึ่งอาจมองได้ว่าธนาคารนั้นมีความมั่นคงสูง แต่อีกมุมหนึ่งก็คือการเสียโอกาสการลงทุนนั่นเอง

Capital Market Snapshot ฉบับนี้จะแสดงให้เห็นมุมมองในด้านหนี้สิน และเงินฝาก ทั้งในภาพรวม และองค์ประกอบสำคัญของเงินฝาก และความเสี่ยงของเงินกู้ (Loan) ในภาคธุรกิจธนาคารไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN)

Key Takeaways

ในปี 2021 ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้าน Economic Risk ต่ำที่สุด และภาคธุรกิจธนาคารยังเป็นประเทศที่มีการปล่อยหนี้ (Loan) และเงินฝากจากลูกค้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ

ธนาคารที่มีการดำเนินงานในประเทศมาเลเซียมีจำนวนธนาคารมากที่สุดถึง 311 ธนาคาร ขณะที่ธนาคารในประเทศไทยมีจำนวนน้อยที่สุด คือ 58 ธนาคารเท่านั้น เมื่อเทียบกับ 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN

ธนาคารในประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหาประมาณ 4% ขณะเดียวกันธนาคารของประเทศไทยมีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญในระดับที่มากกว่าหนี้ที่มีปัญหาในสัดส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง และ สัดส่วนบัญชีเงินฝากระยะสั้นของไทย (น้อยกว่า 1 ปี) มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2017

ประเทศฟิลิปปินส์มีเงินฝากระยะสั้นประมาณ 60% แต่เป็นประเทศที่มีจำนวนเงินฝากน้อยที่สุด และสัดส่วนหนี้ต่อเงินฝากต่ำที่สุดใน 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN

นอกจากนี้ธนาคาร 3 อันดับแรกของประเทศไทยมีหนี้ NPL เทียบกับหนี้ทั้งหมดสูงที่สุดใน 6 ประเทศในกลุ่ม ASEAN อีกทั้งมูลค่าหนี้ NPL มีมูลค่าสูงที่สุดอีกด้วย หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ยักษ์ลงทุน

ใส่ความเห็น