FUND

บลจ.วรรณ ประเมินเศรษฐกิจโลก ครึ่งปีหลังยังผันผวน แนะทะยอยสะสมกองทุน ONE-UGG  

บลจ.วรรณ ประเมินเศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังผันผวน จับตาการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อสูง อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แนะนำกระจายการลงทุน ชี้รับความเสี่ยงได้น้อย ควรลงทุนพันธบัตรตราสารหนี้คุณภาพ ส่วนนักลงทุนความเสี่ยงสูง มองหุ้น Asia และ Asia pacific ยังน่าสนใจ

→สำหรับนักลงทุนใหม่ แนะนำ กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ (ONE-UGG) สำหรับนักลงทุนเดิม คงคำแนะนำ “ถือ” และหากรับความเสี่ยงได้สูง ยังคงมองเป็นจังหวะถัวเฉลี่ยราคา  

นายพจน์ หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นโลกยังมีแนวโน้มผันผวนในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมองว่า ปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนของตลาดหุ้นโลก

3ปัจจัยหลักมีผลต่อการขับเคลื่อนตลาดหุ้นโลก

ประการแรก ได้แก่ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอการเติบโต จากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากภาวะสงครามที่ยังยืดเยื้อ และแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินและการคลังที่เข้มงวดมากขึ้น

ประการที่สอง วัฎจักรเศรษฐฏิจและการฟื้นตัวที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ นำไปสู่การใช้นโยบายการเงินที่แตกต่างกัน อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารญี่ปุ่น และ ธนาคารอินเดีย ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี เพื่อบริหารจัดการเรื่องเงินเฟ้อ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปก็เริ่มส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค.นี้ เช่นกัน โดยการปรับขึ้นในรอบ 11 ปี

และปัจจัยสุดท้าย คือ ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์ ผลจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ได้นำไปสู่การคว่ำบาตร ส่งผลให้ครึ่งปีหลัง ราคาพลังงานจะยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้ง ยังคงต้องติดตามความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ จีน รวมถึงการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯในปลายปีนี้ 

จับตาโอกาสเกิด Recession 

การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสะท้อนในตลาดพันธบัตร โดย Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 2 ปี เร่งตัวขึ้นสูงกว่า Bond Yield 10 ปี ทำให้เกิดเหตุการณ์ Inverted Yield Curve  นับเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ Recession ซึ่งมองว่า ตลาดยังต้องติดตามพัฒนาการตัวเลขเศรษฐกิจต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 6-12 เดือนข้างหน้า” นายพจน์กล่าว 

อย่างไรก็ดี จากตัวเลขตลาดแรงงานที่ยังค่อนข้างแข็งแกร่งแต่ยังคงมีตัวเลขทางเศรษฐกิจบางส่วนที่ยังขยายตัวได้  ซึ่งตลาดเงินตลาดทุนยังคงมีเสถียรภาพสูง โดย บลจ.วรรณมองว่าตลาดได้รับรู้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตมาแล้วพอสมควรผ่าน Fed Funds Futures ดังนั้น แนวโน้มของตลาดตราสารหนี้ในครึ่งหลังของปี มีแนวโน้มดีขึ้น และอาจทำให้แรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงค่อยๆคลี่คลายลง

แนะแนวทางการลงทุน

นายพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแง่ของการลงทุน การกระจายความเสี่ยงยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเจอกับปัจจัยกดดันรอบด้านเช่นนี้ แนะนำกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น (Short duration) และหุ้นในตลาดที่ยังค่อนข้าง laggard เช่น จีน ญี่ปุ่น และ Asia Pacific ผสมผสานกับหุ้น Growth ซึ่งมีความสามารถในการแข็งขันสูง

โดยบลจ.วรรณ แนะนำ กองทุน เปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ (ONE-UGG) ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (LTGG) โดยจะคัดเลือกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูงในหุ้นกลุ่มที่มีนวัตกรรมและมีแนวโน้มที่จะเติบโตรองรับกับผู้บริโภคในอนาคต เช่น กลุ่มนวัตกรรมการแพทย์ (Health Care) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติเทคโนโลยี ซึ่งหุ้นที่กองทุนหลักลงทุน ปัจจุบันมีมูลค่าเทียบการเติบโต(PEG) อยู่ในระดับถูกมาก

สำหรับผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนนี้อยู่แล้ว แนะนำให้ ถือลงทุนต่อไป และ หากสามารถรับความเสี่ยงได้สูง จังหวะนี้ยังคงเป็นโอกาสเข้าถัวเฉลี่ยต้นทุน สำหรับนักลงทุนใหม่ บริษัทมองว่า จุดนี้เป็นโอกาสเข้าซื้อสะสม ทั้งนี้ บลจ.วรรณ มองว่า หุ้นเหล่านี้จะกลับมาเป็นเป้าหมายของตลาดอีกครั้ง หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง 

 “ปัจจุบันกองทุน ONE-UGG หุ้นส่วนใหญ่กว่า 90% ของกองทุนอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง เช่น Moderna ที่ประสบความสำเร็จกับวัคซีน Covid-19 กอปรกับต้นทุน genome sequencing ที่ลดลง 18% ต่อปี ช่วยให้การพัฒนาการรักษาโรคใหม่ๆทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์กับหุ้นอื่นที่กองทุนหลักลงทุนอยู่

อย่างเช่น BioNTech และ Illumina ขณะที่ หุ้นใหม่ที่กองทุนเพิ่มเข้ามาในไตรมาสก่อนได้แก่ Roblox แพลตฟอร์มที่จะได้รับประโยชน์จาก Metaverse, SEA ที่เป็นเจ้าตลาด e-commerce ในอาเซียนและลาตินอเมริกา และ Ginkgo Bioworks ที่มองว่าจะเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ด้วยชีววิทยา นายพจน์กล่าว

สำหรับผลตอบแทนในระยะยาว ที่ผ่านมาในช่วง 10 ปี พบว่าแม้ผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงของวัฎจักรเศรษฐกิจและการปรับนโยบายการเงินมาหลายช่วง แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนหลัก LTGG ยังทำได้โดดเด่น สะท้อนถึงความสามารถในการคัดเลือกธุรกิจที่แข็งแกร่งและเป็น Disruptor ของ Baillie Gifford (กองทุนหลัก) ได้เป็นอย่างดี

โดยเห็นได้จากผลตอบแทนสะสมในระยะยาว (Cumulative return) ซึ่งกองทุนหลักสามารถ outperform หุ้นโลกได้ถึง เท่าตัว ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 14.90% ซึ่งมากกว่าหุ้นโลกในภาพรวมได้เกือบเท่าตัวเช่นกัน

ใส่ความเห็น