NEWS

ผลวิจัยย้ำโสมและโสมแดง ช่วยลดความดันโลหิตและเสริมความจำ

ผลวิจัยยืนยันโสมและโสมแดงช่วยลดความดันโลหิตและเสริมความจำ

สมาคมโสมแห่งเกาหลี (The Korean Society of Ginseng) ซึ่งมีคุณอีมันฮุย (Lee Man-hui) เป็นประธาน เปิดเผยว่า การประชุมสัมมนาระดับนานาชาติว่าด้วยโสม ครั้งที่ 13  (13th International Symposium on Ginseng) ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25-28 ตุลาคม ณ โรงแรมลอตเต้ โฮเทล โซล

ในระหว่างการประชุม บรรดานักวิจัยได้เปิดเผยผลการค้นพบที่น่าสนใจจากการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันและการไหลเวียนเลือด เช่น การเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อโควิด-19 และการเสริมภูมิคุ้มกันในระยะยาว โดยทีมงานของศาสตราจารย์ซอซังฮี (Seo Sang-hee) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติชุงนัม ประเทศเกาหลีใต้ และสมดุลของความดันโลหิตซึ่งส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ โดยทีมงานของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด เออร์ฟาน (Muhammad Irfan) จากมหาวิทยาลัยชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

ทีมงานของศาสตราจารย์วลาดิเมียร์ วุคซาน (Vladimir Vuksan) จากแคนาดา ได้พิสูจน์ว่าโสมสามารถลดความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย [1]

 ศาสตราจารย์วุคซานได้ทำการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วย 80 คนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และพบว่าค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (Systolic Blood Pressure) ปรับตัวลดลงในกลุ่มที่ได้รับโสมแดงเกาหลีและโสมอเมริการ่วมกัน หลังผ่านไป 12 สัปดาห์ (ลดลง 3.98±2 mmHg, p=0.04) ซึ่งพิสูจน์ว่าโสมสามารถลดความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อใช้เสริมนอกเหนือจากการรับประทานยา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือด

ทีมงานของศาสตราจารย์เซควาน โอ (Seikwan Oh) จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา พิสูจน์ว่าโสมแดงช่วยเสริมความจำและความสามารถในการเรียนรู้

 ทีมงานของศาสตราจารย์เซควาน โอ ซึ่งมีนักวิจัยร่วมคือ บมบิ อี (Bombi Lee) จากวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยคยองฮี ได้ทำการทดสอบการหลีกหนี การเรียนรู้ และความจำของหนูทดลอง 48 ตัวที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อพิสูจน์ความสามารถในการเรียนรู้และการจดจำทิศทาง

หลังจากฉีดสารสกัดโสมแดง 20, 50, 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/หนึ่งวัน เป็นเวลา 14 วัน ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า NF-kB ไม่เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับโสมแดง แต่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบในต่อมฮิปโปแคมปัสในสมองของกลุ่มควบคุม ขณะที่การสร้าง mRNA ซึ่งช่วยฟื้นฟูเส้นประสาทสมองเสื่อม ก็ฟื้นคืนมาถึง 252.51% หลังจากฉีดสารสกัดโสมแดง (p < 0.05)

ใส่ความเห็น