INSURANCE NEWS

MTL ชูกลยุทธ์ “Happiness Reinvented” ปักธงเบอร์ 1 คู่คิดด้านชีวิต-สุขภาพที่ลูกค้าวางใจ

เมืองไทยประกันชีวิต ชี้เศรษฐกิจผันผวน ฉุดกำลังซื้อลด แต่ไม่มีผลต่อการต่ออายุกรมธรรม์ เผยปี 66 ชูกลยุทธ์ “Happiness Reinvented” ตั้งเป้าเป็นอันดับหนึ่งในฐานะ “คู่คิดด้านชีวิตและสุขภาพที่ลูกค้าวางใจ ด้วยผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมที่ตรงต่อความการของผู้บริโภค พร้อมโชว์ผลงานปี 65 มีเบี้ยประกันภัยรับใหม่ที่ 10% และเบี้ยประกันภัยสุขภาพและโรคร้ายแรงที่ 7%

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (MTL) เปิดเผยถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 โดยมองว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจมีความผันผวน ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุน ตลอดจนดอกเบี้ย ซึ่งตอนนี้ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น มีผลต่อธุรกิจประกันชีวิต ที่สำคัญดอกเบี้ยเป็นต้นทุนหลักของประกันชีวิต เนื่องจากบริษต้องลงทุนในระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับแผนลงทุนในระยะยาวของลูกค้า อย่างไรก็ตามในนี้บริษัทเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวได้ในทิศทางที่ดี

“ในปีที่ผ่านมา เป็นปีที่เต็มไปด้วยที่มีความท้าทาย จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ฟื้นตัว หลังจากการระบาดอย่างรุนแรงของการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในส่วนของกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่ยังไม่มีผลต่อการต่ออายุกรมธรรม์ของลูกค้าอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความแข็งแกร่ง โดยสะท้อนจากผลการดำเนินงานที่มีอัตราการเติบโตในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับใหม่ที่ 10% และเบี้ยประกันภัยสุขภาพและโรคร้ายแรงที่ 7% สำหรับธุรกิจในภูมิภาค CLMV มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นต่อเนื่อง”นายสาระ กล่าว

ในส่วนของแผนการดำเนินงานในปี 2566 นี้ บริษัทตั้งเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการส่งมอบความสุขให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในทุกมิติ ผ่านกลยุทธ์ “Happiness Reinvented” เพราะความสุขคือทุกอย่าง…ร่วมสร้างควาสุขสไตล์คุณไปกับเมืองไทยประกันชีวิต โดยตั้งเป้าเป็นอันดับหนึ่งในฐานะ “คู่คิดด้านชีวิตและสุขภาพที่ลูกค้าวางใจ ด้วยผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมที่ตรงต่อความการของผู้บริโภค” โดยบริษัทมุ่งดำเนินงานผ่าน 4 แกนสำคัญ ได้แก่ บุคลากร พาร์ทเนอร์ ลูกค้า และนอกเหนือจากลูกค้า

อย่างไรก็ตามบริษัทมีแผนในการสร้างความความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านกาย ทางใจและทางการเงินให้กับลูกค้า โดยบริษัทยังดำเนินงานในการยึดหลักการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และนำเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้บริษัทยังประกาศความม่งมั่นที่จะปฏิบัติตามนโยบายและเป้าหมายด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ในทุกมิติ ทั้งในด้านของสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และ เศรษฐกิจ เพื่อสร้างความสุขอย่างยั่งยืนกับบริษัทและสังคมโดยรวมต่อไป

นายสาระ กล่าวเพิ่มเติมวา บริษัทมีความแข็งแกร่งและเสถียรภาพทางด้านการเงิน โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก S&P Global Ratings อยู่ที่ระดับ BBB+ โดยแนวโน้มมีเสถียรภาพ และจาก Fitch Ratings อยู่ที่ระดับ A- โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศที่ AAA(tha) ขณะเดียวกันบริษัทยังมีความเพียงพอของเงินกองทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งโดยสะท้อนจกาอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่า 300% ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่ 140%

นายธนัญชัย สัจจะปรเมษฐ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์รวมประมาณ 600,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ตราสารหนี้ 80% และตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกองอสังหาริมทรัพย์ ประมาณ 13-14% และอื่นๆ อีกประมาณ 6-7% ซึ่งในปีที่ผ่านมาผลตอแทนจากการลงทุน (IRR) อยู่ที่ 3-4% โดยปีนี้ แผนการลงทุนโดยจะจับจังหวะในการลงทุนในหุ้น เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 100 และเน้นการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ แต่อย่างไรก็ตามปีนี้มั่นใจว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ที่ 3-4% เช่นกัน

ทั้งนี้จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิต (TLAA) ระบุว่า บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (MTL) มีผลการดำเนินงานในช่วง 11 เดือน ของปี 2565 (ม.ค.-พ.ย.) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม อยู่ที่ 61,831.22 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 11.46% โดยในเดือน พ.ย. ปี 2565 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 5,497.39 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 10.41% ส่วนเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 11 เดือน อยู่ที่ 23,175.75 มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 15.40% เฉพาะในเดือน พ.ย. ปี 2565 มีเบี้ยประกันภัยรับรายอยู่ที่ 1,757.84 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 12.71%

 

ใส่ความเห็น